ติดตามพัสดุ ไปรษณีย์ไทย

ติดตามพัสดุไปรษณีย์

เลขพัสดุไม่ถูกต้อง

ติดตามพัสดุ กับ บริษัทขนส่งอื่นๆ

ติดตามพัสดุไปรษณีย์ไทย ด้วย เว็บ pazadu

ติดตามพัสดุไปรษณีย์ กับ เว็บ Pazadu (พัสดุ) ระบบเช็คพัสดุทางเลือก ของเรานั้นทำได้ง่ายๆและใช้งานฟรี เราคือผู้ให้บริการ เช็คพัสดุ ไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ เช็คพัสดุไปรษณีย์ไทย ลงทะเบียน ในประเทศ เช็คพัสดุ eCo-Post ส่งประหยัดในประเทศ เช็คพัสดุ Logispost ในประเทศ เช็คพัสดุ EMS World เช็คพัสดุ ไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ 

เช็คพัสดุ Courier Post ระหว่างประเทศ เช็คพัสดุ ไปรษณีย์ลงทะเบียนระหว่างประเทศ เช็คพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เช็คพัสดุ Logispost ระหว่างประเทศ เช็คพัสดุ ไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศ เช็คพัสดุ E-packet ระหว่างประเทศ เช็คพัสดุ COD เช็คเลขพัสดุ EMS 

หากคุณต้องการติดตามสถานะพัสดุ ไปรษณีย์ไทย ทำได้ง่ายๆเพียงแค่กรอก เลขพัสดุของ ไปรษณีย์ไทย เช่น RH124165999TH ก็สามารถเช็คสถานะพัสดุล่าสุดของ ไปรษณีย์ไทย ได้ในทันที สะดวกและรวดเร็ว หากต้องการติดตามพัสดุทั้งหมดคลิก ติดตามพัสดุทั้งหมด

เกี่ยวกับ ไปรษณีย์ไทย

ติดตามพัสดุไปรษณีย์ไทย

ไปรษณีย์ไทย คือ การบริการรับฝากขนส่งสิ่งของต่างๆ ซึงกำเนิดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2423 และมีบริการไม่ว่าจะเป็นพัสดุและจดหมายทั้งภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศนั้นที่คนไทยได้ใช้บริการกันอย่างแพร่หลาย โดยทั้งนี้ไปรษณีย์ไทย ก็ยังมีการให้บริการอีกหลายด้านเพื่ออำนวยความสะดวก

วิสัยทัศน์ ของไปรษณีย์ไทย 

คือ เป็นกลุ่มผู้ให้บริการไปรษณีย์และ Logistics ครบวงจรอย่างยั่งยืนด้วยมาตรฐานสากล

พันธกิจองค์กร 

  1. ให้บริการจัดส่งสิ่งของ ข่าวสาร ข้อมูล และโอนเงินทั่วโลกที่ลูกค้าเข้าถึงได้อย่าง สะดวก มีคุณภาพ มีมาตรฐานสากล ราคาสมเหตุสมผล และเชื่อถือได้
  2. พัฒนาให้ไปรษณีย์ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจไปรษณีย์และบริการ Logistics สำหรับธุรกิจ e-Commerce ของประเทศ
  3. บริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลการดำเนินงานในการสร้างฐานความรู้และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตไปด้วยกัน
  4. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม)

ประวัติไปรษณีย์ไทย โดยย่อ

ใน ปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิทธิ์ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคำแนะนำให้เปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นใน ประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงทรงแต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงมี ประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือพิมพ์รายวัน “ข่าวราชการ” ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ ได้ทรงวางโครงการและ เตรียมการไว้พร้อมที่จะ เปิดบริการไปรษณีย์ ได้แล้ว ก็ได้ประกาศเปิดรับฝาก ส่งจดหมายหรือหนังสือ เป็นการทดลองในเขต พระนครและธนบุรีขึ้นเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 มีที่ทำการตั้งอยู่ ณ ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนปากคลองโอ่งอ่าง ด้านทิศเหนือ (ปัจจุบันถูกรื้อเพื่อใช้ที่สร้าง สะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ) ที่ทำการแห่งแรกนี้ใช้เป็น ที่ทำการไปรษณีย์สำหรับจังหวัดพระนคร ด้วยเรียกกันว่า “ไปรษณียาคาร”

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการกราบบังคมทูล เสนอความเห็นว่าราชการ ของกรมไปรษณีย์และราชการของกรมโทรเลข ซึ่งตั้งขึ้นก่อนกรมไปรษณีย์แล้วนั้นเป็นงานใน ด้านสื่อสารด้วยกันควรรวมเป็นหน่วยราชการ เดียวกันเสียเพื่อความสะดวกแก่การดำเนินงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็น เป็นสมควรจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกันเรียกว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข”
    ต่อมาได้ย้ายไปใช้อาคารและที่ดินริมถนน เจริญกรุงเป็นที่ทำการและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ที่ทำการไปรษณีย์กลาง” การไปรษณีย์ เป็นบริการสาธารณะจำเป็นต้องมีระเบียบข้อบังคับเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการและ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินบริการทราบและถือปฏิบัติเมื่อ เปิดการไปรษณีย์โทรเลขได้ประมาณ 2 ปีแล้ว รัฐบาลจึงได้ตรากฏหมายขึ้นใน ปี พ.ศ. 2428 เรียกว่า “พระราชบัญญัติการไปรษณีย์ไทย จุลศักราช 1248”

    เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง “การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)” ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการทั้งหมด รวมถึงการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ โดยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ใช้สถานที่ปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ต่อมาสำนักงานใหญ่ย้ายมาอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่ง กสท. ได้ปรับปรุงและพัฒนาบริการให้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด จนเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำที่ยิ่งใหญ่ มีศักยภาพเครือข่าย ระบบ และคุณภาพบริการระดับมาตรฐานสากล

    จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เทียบเท่าภาคเอกชน ซึ่ง กสท. เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติให้แปรสภาพ กสท. ตามแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 แยกกิจการเป็น 2 บริษัท คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546

คำถามที่พบบ่อยของ ไปรษณีย์ไทย

วิธีการ ติดตามพัสดุไปรษณีย์ไทย

วิธีที่ 1 ติดตามพัสดุไปรษณีญืไทย ยังไง

  1. ใช้ช่องค้นหาพัสดุที่ด้านบนของหน้านี้
  2. ป้อนหมายเลขการติดตามพัสดุ ไปรษณีย์ไทย ในแถบค้นหาโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายขีดกลางหรือช่องว่างใดๆ 
  3. คลิกที่ปุ่มค้นหาพัสดุ ไปรษณีย์ไทย ปุ่มสีเขียว
  4. ท่านสามารถดูประวัติพัสดุ และข้อมูลสถานะพัสดุของท่านได้ง่ายดาย หลังจากป้อนหมายเลขและทำการค้นหาแล้ว สามารถดูสถานะปัจจุบันต้นทางปลายทางและรายการต่างๆได้อย่างง่ายดายสะดวกและรวดเร็ว

วิธีที่ 2

  1. ติดตามพัสดุได้โดย เว็บไซต์หลักของ Thailand Post
  2. แอปพลิเคชันติดตามพัสดุ ไปรษณีย์ไทย Thailandpost  Track & Trace
  3. Contact Center 1545

หมายเลขพัสดุของ ไปรษณีย์ไทย มีลักษณะเป็นอย่างไร

หมายเลข Tracking Number ของ ไปรษณีย์ไทย ที่ใช้ในการ ติดตามพัสดุไปรษณีย์ไทย ems นั้นจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ จำนวน 2 หลัก และตามด้วย ตัวเลข จำนวน 9 หลัก นำและปิดท้ายด้วย ตัวอักษร TH มารวมกันจะเป็นจำนวน 13 หลัก เช่น RH124165399TH

เลขพัสดุไปรษณีย์ไทย (tracking number) ดูได้จากตรงไหน

เมื่อผู้ส่งได้ทำการจัดส่งสินค้าตามจุดบริการของ ไปรษณีย์ไทย หรือทางช่องทางต่างๆจะได้รับใบเสร็จ ใบเสร็จนี้สามารถใช้ในการ ติดตามพัสดุ ไปรษณีย์ไทย ได้ โดยในใบเสร็จนั้นจะมีการระบุหมายเลข Tracking Number ไปรษณีย์ไทย เลขพัสดุจำนวน 13 หลัก

บริการใดบ้างที่สามารถตรวจสอบสถานะพัสดุออนไลน์ได้

บริการที่รองรับการตรวจสอบสถานะ 

  1. EMS ไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ
  2. ไปรษณีย์ลงทะเบียนในประเทศ
  3. eCo-Post ส่งประหยัดในประเทศ
  4. Logispost ในประเทศ
  5. EMS World ไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ
  6. Courier Post ระหว่างประเทศ
  7. ไปรษณีย์ลงทะเบียนระหว่างประเทศ
  8. พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
  9. Logispost ระหว่างประเทศ
  10. ไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศ
  11. E-packet ระหว่างประเทศ
  12. เก็บเงินที่อยู่ผู้รับ (COD)

ถ้า EMS ส่งถึงผู้รับปลายทางล่าช้า EMS สูญหาย สิ่งบรรจุภายในสูญหาย สิ่งบรรจุภายในเสียหาย ปณท จะรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายอย่างไรบ้าง

  • EMS ในประเทศ มีการรับประกันเวลานำจ่ายให้แก่ผู้รับ หากตรวจสอบพบว่า EMS ดังกล่าวเกิดความล่าช้าในเส้นทางไปรษณีย์ ปณท ยินดีคืนค่าฝากส่ง EMS ในประเทศให้แก่ผู้ใช้บริการ แต่ถ้า EMS ดังกล่าวเกิดสูญหาย ปณท ยินดีชดใช้ ค่าเสียหายตามมูลค่าจริงแต่ไม่เกิน 2,000 บาท ยกเว้น EMS รับประกัน ปณท จะชดใช้ตามวงเงินที่รับประกันไว้

  • กรณีสิ่งบรรจุภายในสูญหายหรือเสียหาย เมื่อผู้รับได้รับขอให้รีบแจ้งให้ ปณ. ที่นำจ่ายทราบภายใน 24 ชม. จากนั้นขอให้ติดต่อผู้ฝากส่งเพื่อให้ผู้ฝากส่งทำเรื่อง ร้องเรียนที่ ปณ.ต้นทาง เมื่อดำเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วหากพบว่าเกิดการ สูญหายหรือเสียหายในเส้นทางไปรษณีย์ ปณ.ต้นทาง จะแจ้งให้ผู้ฝากมาติดต่อรับเงิน ชดใช้ค่าเสียหาย
    (สิทธิ์ในการรับเงินชดใช้จะเป็นของผู้ฝากส่ง หากผู้รับประสงค์ จะเป็นผู้รับเงิน ผู้ฝากส่งจะต้องทำหนังสือโอนสิทธิ์การรับเงินชดใช้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ปณ.ต้นทาง ที่ผู้ฝากส่งแจ้งเรื่องร้องเรียนในครั้งแรก)

หากฝากส่งสิ่งของไปแล้วตรวจสอบพบว่าจ่าหน้าผู้รับผิดพลาด จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

บริการขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า (Withdrawal from the post alteration or correction of address) คือ บริการที่ ปณท ยินยอมให้ผู้ฝากส่งขอถอนคืน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้าสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ตนได้ฝากส่งไปแล้วและยังมิได้นำจ่ายแก่ผู้รับหรือมิได้เป็นสิ่งของต้องห้ามหรือมิได้ถูกยึดหรือริบตามกฎหมาย ซึ่งมีเงื่อนไขการใช้บริการดังนี้

  • บริการนี้ใช้ได้กับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในประเทศและระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดีการไปรษณีย์ต่างประเทศบางแห่งอาจมีข้อสงวนไม่ยอมรับบริการนี้ (สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง หรือ Call Center 1545) 

  • ผู้ฝากส่งที่ประสงค์จะขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า ต้องยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง (เว้นแต่มีความจำเป็นจึงยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์อื่นได้) โดยแสดงหลักฐานประจำตัว หลักฐานการรับฝาก (ถ้ามี) และตัวอย่างจ่าหน้าสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ต้องการขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า (ในประเทศ 4 บาท ระหว่างประเทศ 25 บาท)

  • ตามปกติเมื่อ ปณท ได้รับคำขอถอนคืน แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้าจะแจ้งให้ที่ทำการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำขอโดยเร็วที่สุด แต่การดำเนินการดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของที่ทำการที่เกี่ยวข้องด้วย

ต้องการส่งของด้วยบริการ EMS ในประเทศ จากต้นทางกรุงเทพฯไปต่างจังหวัดจะถึงมือผู้รับภายในกี่วัน

  1. สามารถฝากส่งสิ่งของด้วยน้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 20 กิโลกรัม 
  2. มาตรฐานการนำจ่ายบริการ EMS ในประเทศ ตามวัน-เวลาทำการของไปรษณีย์ไทย เมื่อฝากส่งก่อน 16.00 น. หากฝากส่งหลังเวลาดังกล่าว เสมือนหนึ่งการรับฝากในวันรุ่งขึน ดังนี้ 
    • ต้นทางและปลายทางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ) ภายใน 1 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง
    • ต้นทางและปลายทางในพื้นที่ภูมิภาคเดียวกัน ภายใน 1 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง
    • ระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ/ปริมณฑล และพื้นที่ภูมิภาค ภายใน 1 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง
    • ระหว่างพื้นที่ภูมิภาค (ข้ามภาค) ภายใน 2 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง

ยกเว้น  

ปลายทางพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน / อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เพิ่มวันนำจ่ายอีก 1 วันทำการ
ปลายทางพื้นที่ห่างไกลและตามเกาะต่างๆ เพิ่มวันนำจ่ายอีก 2 วันทำการ

หมายเหตุ

  1. มาตรฐานการนำจ่ายไม่รวมพื้นที่นำจ่ายของที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต อาทิ พื้นที่ห่างไกลตัวเมือง หุบเขา เกาะต่างๆ ส่งผลให้การจัดส่งอาจล่าช้ากว่ามาตรฐานที่กำหนด
  2. หากเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์ภัยพิบัติ อาจมีผลกระทบกับมาตรฐานจัดส่งในบางพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความล่าช้ากว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 

กรณีที่ลูกค้าได้มีการสั่งสินค้าทางอินเทอร์เน็ต และให้จัดส่งให้กับลูกค้าด้วยบริการ EMS แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับสินค้าตามวันและเวลาที่กำหนด จะมีวิธีการตรวจสอบสถานะของสิ่งของได้ด้วยวิธีการใดบ้าง

ให้สอบถามบริษัทที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าให้ช่วยตรวจสอบ หรือขอหมายเลขรหัสบาร์โค้ด 13 หลัก เช่น EG6106080XXTH เพื่อนำตรวจสอบสถานะพัสดุได้กับ Pazadu ของเรา

ค่าขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทย คิดราคาอย่างไร

เช็คอัตราค่าบริการได้ที่ http://www.thailandpost.co.th แล้วคลิกที่ ตรวจสอบอัตราค่าบริการไปรษณีย์
ซึ่งลูกค้าสามารถระบุประเทศปลายทางและน้ำหนักที่ต้องการฝากส่ง จะทำให้ทราบอัตราค่าบริการ แต่ละประเภท คลิกที่นี่
หรือ THP Contact Center 1545
ส่วนอัตราค่าบริการระหว่างประเทศ ประจำปี 2654 คลิกที่นี่

ระยะเวลาในการจัดส่งของไปรษณีย์ไทย เป็นอย่างไร

ในประเทศ

บริการพร้อมส่ง                                     1 – 2 วัน
ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ EMS                     1 – 2 วัน
ไปรษณีย์ลงทะเบียน                             2 – 5 วัน
ไปรษณีย์รับรอง                                    2 – 4 วัน
พัสดุไปรษณีย์                                       3 – 5 วัน
Logispost สิ่งของขนาดใหญ่               5 – 7 วัน
Logispost Plus สิ่งของขนาดใหญ่      2 – 3 วัน

ระหว่างประเทศ

Courier Post                                       2 – 3 วัน
EMS World                                          2 – 9 วัน
ePacket                                               3 – 9 วัน
Small Packet                                      3 – 9 วัน
Logispost World                                7 – 10 วัน
พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ           5 – 25 วัน

เงื่อนไขการซื้อประกันเพิ่มกรณีส่งภายในประเทศ

  1. วงเงินประกันเพิ่มไม่เกิน 20,000 บาท คิดค่าบริการ 5 บาท ต่อวงเงินประกัน 500 บาท + ค่าปฏิบัติการ 15 บาท
  2. วงเงินประกันเพิ่มเกิน 20,000 บาท ขึ้นไป
    • สำหรับบริการ EMS ในประเทศ คิดค่าบริการ 10 บาท ต่อวงเงินประกัน 500 บาท + ค่าปฏิบัติการ 15 บาท
    • บริการ Logispost และ Logispost plus รอจ่ายที่ ปณ.ปลายทาง คิดค่าบริการ 6 บาท ต่อวงเงินประกันทุกๆ 500 บาท + ค่าปฏิบัติการ 15 บาท

วัน - เวลาทำการของไปรษณีย์ไทย

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
วันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น.
ปิดทำการวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
 
สามารถตรวจสอบสาขาที่ให้บริการนอกเวลาทำการได้ คลิกที่นี่

Facebook แฟนเพจ ของไปรษณีย์ไทย คือ

แฟนเพจ ไปรษณีย์ไทย คือ
https://web.facebook.com/thailandpost.co.th 

หากสินค้าได้รับความเสียหาย หรือสูญหาย ต้องทำอย่างไร สามารถแจ้งข้อมูลผ่านระบบ

เข้าไปที่ เว็บไซต์ www.thailandpost.co.th เลือกเมนูติดต่อเรา -> เลือกเมนูย่อย ติดต่อผ่านเว็บไซต์ -> เลือกเมนูสอบสวน ร้องเรียน
หรือสามารถ คลิกที่นี่

หากยังไม่ได้รับพัสดุในวันที่กำหนดส่ง ควรทำอย่างไร

ติดต่อสอบถามได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือ แจ้งข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์ www.thailandpost.co.th เลือกเมนูติดต่อเรา  ->  เลือกเมนูย่อย ติดต่อผ่านเว็บไซต์ -> เลือกเมนูสอบถามข้อมูลทั่วไป
หรือสามารถ คลิกที่นี่ 

แหล่งอ้างอิง: 
thailandpost.co.th/un/faq_list/faq